สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ


สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก

สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก
         สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลา อาหารที่กินจะเป็นตัวหนอน และแมลง โดยใช้ลิ้นตวัดเข้าปาก ตอนเป็นตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่สามารถยังอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ได้แก่ กบ อึ่งอ่าง คางคก เขียด ปาด จงโคร่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคางคก
          ลักษณะสำคัญ มีผิวหนังเรียบไม่มีเกล็ด และเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะมีต่อมสร้างน้ำเมือกคอยขับน้ำเมือกออกมาถ้าผิวหนังแห้งบางพวกอาจต่อมพิษอยู่ตามผิวหนังที่ขรุขระสัตว์พวกนี้ตอนเป็นตัวอ่อนจะมีหางและมีรูปร่างคล้ายปลา อาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เรียกว่า " ลูกอ๊อด ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเหงือกค่อยๆ หายไป และปอดใช้หายใจแทนเหงือก ขาเริ่มงอก หางหดสั้นลงจนมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็ก ขึ้นมาอาศัยบนบก และเจริญเติบโต นอกจากหายใจด้วยปอดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนก๊าชผ่านทางผิวหนังที่บางและชุ่มชื้นได้อีกทางหนึ่งด้วย ทำให้สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ในฤดูหนาวและฤดูร้อน สัตว์พวกนี้จะหลบความแห้งแล้งและขาดแคลน อาหารไปอยู่ที่ชุ่มชื้น โดยขุดรูหรือฝังตัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า " การจำศีล " ในช่วงนี้จะไม่กินอาหาร โดยจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ เพื่อรอฤดูฝนจะออกมากินอาหารตามปกติ เช่น  
             
 
           

            กบ  เป็นสัตว์สี่เท้าจำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กบจัดอยู่ในวงศ์รานิดี (Ranidae) สกุลรานา (Rana) ผิวหนังขรุขระ ไม่มีขนและเกล็ด ที่บริเวณผิวหนังของกบจะมีต่อมเมือกและน้ำใสๆ เพื่อช่วยให้ผิวหนังของกบนั้น มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ กบไม่มีคอและหางซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการว่ายน้ำ มีขา 2 คู่ ขาด้านหน้ามีขนาดเล็กและสั้น มีนิ้วเท้าสี่นิ้วที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยนิ้วที่หนึ่งหรือนิ้วหัวแม่มือ มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก ขาคู่หลังมีมัดกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรง คอยประคองและค้ำจุนให้กบสามารถกระโดดไปด้านหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีข้อเท้าขนาดยาวช่วยในการกระโดด ระหว่างนิ้วเท้าทั้งห้าของขาคู่หน้าและหลัง มีหนังบางๆ เป็นแผ่นๆ ยึดติดกันใช้สำหรับว่ายน้ำ
ลักษณะทั่วไป
            กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้นๆ หรือแอ่งน้ำเล็กๆ มีหัวลักษณะคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม มีสัณฐานค่อนข้างแบนเรียบ ปากกว้าง นัยน์ตากลมโตและโปนโดยบริเวณหนังตามีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิดนัยน์ตาดำของกบ มีหูอยู่บริเวณด้านหลังของนัยน์ตาที่มีลักษณะเป็นแอ่งกลมๆ ทำหน้าที่เหมือนกับแก้วหูของมนุษย์ มีรูจมูกสองรูอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา ภายในปากมีฟันขนาดไล่เลี่ยกันคล้ายกับซี่เลื่อย ลิ้นมีปลายแยกออกเป็นสองแฉก ใช้สำหรับจับแมลงและสัตว์อื่นเป็นอาหาร หายใจโดยใช้ปอดและสามารถหายใจได้ทางผิวหนัง มีการพบกบบางชนิดในอินโดนีเซียไม่มีปอด หายใจโดยผิวหนังอย่างเดียว

 

             ซาลามานเดอร์  เป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกเดียวกับกบและคางคก (amphibians) แต่ต่างกันตรงที่ เมื่อเป็นตัวเต็มวัยซาลาแมนเดอร์ยังคงมีหางยาว ไม่หดหายไปเหมือนในกบและคางคก
ซาลามานเดอร์เป็นสัตว์ที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่ง จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสัตว์ครึ่งบกครึงน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน (herpetologists) พยายามที่จะศึกษาถึงวิธีการ ที่ซาลามานเดอร์เดินทางไปยังแหล่งผสมพันธุ์ และได้พบว่ามันจะใช้วิธีการดมกลิ่น เพื่อช่วยในการเดินทางนั่นเอง
ในสมัยก่อนการเดินทางอพยพของซาลามานเดอร์เหล่านี้ มักจะพบกับความยากลำบากและอุปสรรคในการเดินทางไปยังแหล่งน้ำอยู่หลายประการ เช่น พบต้นไม้ล้มขวางทาง กอหญ้าขนาดใหญ่ หรือก้อนหินขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันอุปสรรคใหม่ที่เข้ามากั้นระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับแหล่งผสมพันธุ์ของมันก็คือถนน นักวิทยาศาสตร์พบว่า ตามธรรมชาติแล้วซาลามานเดอร์ไม่ได้ถูกวิวัฒนาการขึ้นมา เพื่อรับมือกับรถยนตร์ที่วิ่งไปมาบนถนนได้ ดังนั้น จึงมีซาลามานเดอร์หลายพันตัวต้องจบชีวิตลงบนท้องถนนในแต่ละปี


 
ลักษณะวิสัย
     ลักษณะ ของอึ่งอ่างตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมีสีดำเป็นถุงใต้คาง เวลาถูกรบกวนจะพองตัวออกจนกลม นิ้วมือกับนิ้วเท้าจะแผ่ออกตอนปลายแล้วตัดดูคล้ายนิ้วขาด ฝ่าเท้าหลังแต่ละข้างจะมีสันยาวเพื่อไว้ใช้ขุดดิน เพื่อการฝังตัวเพราะปกติจะขุดฝังตัวอยู่ในดิน อยู่ตามใต้ต้นไม้ ใต้กระถางต้นไม้ จะมีเหมือกเหนียวออกจากผิวหนังเวลาโดนจับผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณปลายเมษายนถึงพฤษภาคม ไข่จะติดกันเป็นแพในแอ่งน้ำ เวลาไข่เสร็จแล้วจะหมุดกลับลงไปซุกซ่อนอย่างเดิม
บริเวณที่พบ
    พบ ได้ทั่วประเทศ ในจังหวัดมหาสารคามจัดเป็นสัตว์ที่คนนิยมนำมาเป็นอาหารและเป็นที่ชื่นชอบ จึงทำให้สัตว์ชนิดนี้พบเจอได้ยากพบตามป่าดงเค็ง อำเภอนาดูนป่าดูนรำพันอำเภอนาเชือก ป่าเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิทยาศาสตร์

เรื่อง สาร